เรื่องเสร็จที่ ๔/๒๕๔๘
ประกอบร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.....
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๓/๑๑๘๘๘ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑o สิงหาคม ๒๕๔๗ อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ..... ที่สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไดัเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ตรวจพิจารณา โดยมีผู้แทนสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและผู้แทนสภาวิชาชีพ (แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล และสภาเภสัชกรรม) เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นสมควรจัดทำบันทึกประกอบร่างพระราชบัญญัติ ดังต่อไปนี้
๑. หลักการของร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติเสนอ
ให้มีกฎหมายแม่บทหรือธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพเพื่อกำหนดหลักการ ทิศทางมาตรการและมีกลไกที่สามารถสร้างสุขภาพจิตให้มีความสัมพันธ์กันทุกภาคส่วนในลักพณะองค์รวมเอื้อต่อการมีชีวิตที่มีสุขภาพดีด้วยการพึ่งพาตนเอง มีการเลือกรับบริการที่หลากหลาย และสามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพให้สอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. ข้อสังเกตในชั้นต้นเกี่ยวกับรางพระราชบัญญัติดังกล่าว
๒.๑ ข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรม
ให้เพิ่มเติมว่าบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับสำนักงานในเรื่องทรัพย์เป็นของสำนักงานมิได้ (ร่างเดิม มาตรา ๔๘)
๒.๒ ข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ
(๑) ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของสำนักงานในส่วนที่ประกอบด้วยเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมให้ตัดออก เนื่องจากได้มีการกำหนดให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์เป็น สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติไปเป็นของสำนักงานตามร่างพระราชบัญญัตินี้แล้ว (ร่างเดิม มาตรา ๔๗ (๑))
(๒) ไม่ควรกำหนดให้รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายในจำนวนที่ตายตัว ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นไปตามภาระความจำเป็นและความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน และสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศ (ร่างเดิม มาตรา ๗๙ (๔) และมาตรา ๘๑ (๒))
๒.๓ ข้อสังเกตของสำนักนายกรัฐมนตรี
ให้เพิ่มเติมว่าบุคคลมีสิทธิได้รับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพอย่างถูกต้องและเพียงพอจากหน่วยงานของรัฐทุกประเภทที่เกี่ยวข้องด้วย (ร่างเดิม มาตรา ๑๗)
๒.๔ ข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง
(๑) ให้ เพิ่มเติมว่าทรัพย์สินของสำนักงานไม่รวมถึงทรัพย์สินที่เป็นที่ราชพัสดุ
(๒) กรณีที่สำนักงานมีรายได้จากการดำเนินงานโดยใช้เงินและทรัพย์สินของรัฐ เงินรายได้นั้นควรต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน แต่หากว่าสำนักงานมีความจำเป็นที่จะต้องเก็บไว้ใช้จ่ายในการดำเนินกิจการค้าก็เห็นควรกำหนดให้สำนักงานสามารถเก็บเงินรายได้ดังกล่าวไว้ได้โดยความเห็นชอบขอ