กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
โดยที่พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 (พระราชบัญญัติฯ)
ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันมีข้อจำกัดหลายประการที่เป็นปัญหาอุปสรรคทำให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติฯ
ฉบับดังกล่าวไม่เป็นที่แพร่หลาย ได้แก่ การกำหนดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาจะต้องทำหน้าที่ดูแล
การชำระหนี้ของคู่สัญญาให้เป็นไปตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาดูแลผลประโยชน์ โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาต้องดูแลรักษาเงิน ทรัพย์สิน หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ที่คู่สัญญาได้ส่งมอบให้อยู่ในความครอบครอง พร้อมทั้งดำเนินการส่งมอบเงินและจัดให้มีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สินให้แก่คู่สัญญา รวมถึงบทบัญญัติได้ระบุให้มีการดำเนินการในลักษณะที่รองรับการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญากรณีที่เป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แต่บทบัญญัติดังกล่าวยังขาดความชัดเจนในกรณีของธุรกรรมการซื้อขายห้องชุด อีกทั้งยังมีบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่ขัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ซึ่งจากประเด็นปัญหาอุปสรรคดังกล่าว กระทรวงการคลังจึงเห็นสมควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฯ
โดยปรับปรุงคำนิยามของคู่สัญญาเพื่อให้ครอบคลุมการทำธุรกรรมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น รวมทั้งแก้ไขข้อขัดข้อง
กรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาดูแลผลประโยชน์ในการดูแลรักษาเฉพาะเงิน ทรัพย์สิน หรือเอกสารเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง และปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนเพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับการประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ช่วยในการส่งเสริม
การประกอบธุรกิจการดูแลผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น และเพิ่มบทบัญญัติการกำหนดโทษกรณีผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ