

นายอนุสิษฐ์ อุ่นทิม
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขึ้นทะเบียนและการขออนุญาต ในการให้บริการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ....
สรุปสาระสำคัญ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขึ้นทะเบียนและการขออนุญาต
ในการให้บริการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ....
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขึ้นทะเบียนและการขออนุญาต
ในการให้บริการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. .... เป็นกฎกระทรวง
ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙ วรรคสอง และมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ มีสาระสำคัญ ดังนี้
๑. หมวด ๑ กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลผู้ขอขึ้นทะเบียนหรือนิติบุคคล
ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะให้บริการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
๒. หมวด ๒ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการขึ้นทะเบียนหรือการขออนุญาตในการ
ให้บริการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
๓. หมวด ๓ กำหนดวิธีการและระยะเวลาในการขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียน
หรือใบอนุญาต ตลอดจนการออกใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนหรือใบอนุญาตกรณีที่ใบสำคัญการขึ้นทะเบียน
หรือใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
๔. หมวด ๔ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้บริการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ ด้านการตรวจและรับรอง ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านการจัดฝึกอบรม
หรือการให้คำปรึกษา ตลอดจนกำหนดให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการในการให้บริการของผู้ที่ได้รับ
การขึ้นทะเบียนหรือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแต่ละประเภทเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการให้บริการ
๕. หมวด ๕ กำหนดให้ผู้อำนวยการกองความปลอดภัยแรงงานมีอำนาจเพิกถอนใบสำคัญ
การขึ้นทะเบียน และอธิบดีมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต ตลอดจนกำหนดสิทธิในการ
อุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนหรือพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
๖. หมวด ๖ กำหนดค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนหรือขอใบอนุญาต การออกใบแทน
ใบอนุญาต การออกใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียน ใบสำคัญการต่ออายุนิติบุคคล ใบสำคัญการต่ออายุ
ขึ้นทะเบียนบุคคล รวมทั้งการยกเว้นค่าธรรมเนียม
-------------------------------
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หรือคณะบุคคล พ.ศ. ....
สรุปสาระสำคัญร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ
ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการฝึกอบรม
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หรือคณะบุคคล พ.ศ. ....
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
ในการทำงาน บุคลากร หรือคณะบุคคล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๙๐วัน นับแต่วันประกาศในราช
กิจจานุเบกษา
ข้อ ๒ กำหนดคำนิยามของกฎกระทรวงต่างๆ คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
ในการทำงาน บุคลากร คณะบุคคล และหน่วยงานฝึกอบรม
ข้อ ๓ นายจ้างต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร และคณะบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด ได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๔ กำหนดหลักสูตรและระยะเวลาการฝึกอบรม ดังนี้
(๑) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน จำนวน ๑๒ ชั่วโมง
(๒) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร จำนวน ๑๒ ชั่วโมง
(๓) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค จำนวน ๑๘ ชั่วโมง
(๔) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง จำนวน ๑๘๐ ชั่วโมง
(๕) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ๒ หลักสูตร
- หลักสูตรที่ ๑ จำนวน ๔๒ ชั่วโมง
- หลักสูตรที่ ๒ จำนวน ๒๒๒ ชั่วโมง
(๖) หลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำนวน ๑๒ ชั่วโมง
(๗) หลักสูตรบริหารหน่วยงานความปลอดภัย ๒ หลักสูตร
- จำนวน ๓๐ ชั่วโมง
- จำนวน ๔๒ ชั่วโมง
ทั้งนี้ มาตรฐานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ ๕ กรณีนายจ้างเป็นผู้จัดฝึกอบรมให้แจ้งรายละเอียดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ข้อ ๖ ให้นายจ้างจัดให้ผู้ซึ่งต้องผ่านการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยงานฝึกอบรมตามมาตรฐานการฝึกอบรม
ข้อ ๗ กำหนดวิธีการจัดฝึกอบรมสำหรับนายจ้างหรือหน่วยงานฝึกอบรม
ข้อ ๘ กำหนดคุณสมบัติวิทยากรผู้ทำการฝึกอบรม
-----------------------------------
กองนิติการ
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
ร่าง กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. ....
สรุปสาระสำคัญ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน
การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. ....
ร่างกฎกระทรวงนี้มีหลักการเพื่อกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการระงับ
ข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงานและการนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการส่งเสริม
เสรีภาพในการรวมตัวของคนประจำเรือและเจ้าของเรือเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ
มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
๑. หมวด ๑ วิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน
กำหนดหลักเกณฑ์การทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างฝ่ายคนประจำเรือกับฝ่ายเจ้าของเรือ กรณีเจรจากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ให้ถือว่ามีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้อง
อาจตกลงกับฝ่ายรับข้อเรียกร้องให้มีการไกล่เกลี่ยโดยฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องทำเป็นหนังสือหรือวิธีการอื่นใด
ต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ทั้งสองฝ่ายอาจตกลงกันให้มีบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานโดยสมัครใจ หรือยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
กรณีที่ทั้งสองฝ่ายไม่อาจตกลงกันได้หากฝ่ายใดประสงค์ให้พนักงานประนอม
ข้อพิพาทแรงงานยุติการไกล่เกลี่ยให้มีหนังสือแจ้งอีกฝ่ายและพนักงานประนอมฯ ทราบ เมื่อแจ้งการยุติแล้ว
ให้เป็นสิทธิของฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้องแจ้งต่อคณะกรรมการทราบเป็นหนังสือเพื่อดำเนินการให้มีบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องนำข้อพิพาทแรงงานส่งให้คณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งพนักงานประนอมฯ ยุติการไกล่เกลี่ย
เมื่อคณะกรรมการได้รับข้อพิพาทแรงงานแล้วให้วินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันนับแต่ได้รับข้อพิพาทแรงงาน คำชี้ขาดมีผลใช้บังคับตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
๒. หมวด ๒ การปิดงานและการนัดหยุด
กำหนดให้เจ้าของเรืออาจปิดงานหรือคนประจำเรืออาจนัดหยุดงานได้เมื่อมีการ
แจ้งข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายตามประกาศกระทรวงแรงงานฯ หรือเมื่อฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง
ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง หรือเมื่อฝ่ายที่ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด ไม่อยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน กรณีที่จะปิดงานหรือนัดหยุดงานต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมฯ และอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อย ๔๘ ชั่วโมงก่อนการปิดงานหรือนัดหยุดงาน โดยนับเวลาที่พนักงานประนอมฯ
และอีกฝ่ายได้รับแจ้ง
๓. หมวด ๓ การกระทำอันไม่เป็นธรรม
กำหนดกรณีที่ถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ซึ่งห้ามเจ้าของเรือกระทำต่อคนประจำเรือ เช่น การเลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้คนประจำเรือไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่คนประจำเรือร่วมกันจัดตั้งองค์กรเอกชนฝ่ายคนประจำเรือ เป็นต้น ผู้เสียหายอาจยื่นคำร้อง
ต่อคณะกรรมการเพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่ง
--------------------------------
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ....
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ....
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง (แก้ไขมาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๑๐)
เหตุผล
เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน
มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะบทบัญญัติที่กำหนดให้นายจ้างส่งสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ขัดต่อกฎหมายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีลักษณะเป็นการควบคุมการดำเนินการและก่อให้เกิดภาระต่อนายจ้างหรือผู้ประกอบกิจการโดยไม่จำเป็น รวมทั้งไม่เอื้ออำนวย
ต่อการประกอบธุรกิจและการลงทุน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้