
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย พ.ศ. ....
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กรุณากรอกข้อมูลพื้นฐานเพื่อประโยชน์และจัดทำรายงานสำหรับการรับฟังความคิดเห็น |
-
หลักการ
กำหนดให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย
เหตุผล
โดยที่มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
-
ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ หมวด รวมทั้งสิ้น ๑๘ มาตรา
หมวดที่ ๑ บททั่วไป (มาตรา ๒ - มาตรา ๓)
หมวดที่ ๒ การป้องกันการตกจากที่สูง และที่ลาดชัน (มาตรา ๔ - มาตรา ๑๐)
หมวดที่ ๓ การป้องกันอันตรายจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย (มาตรา ๑๑ - มาตรา ๑๘)
- ข้อ ๑
- ในกฎกระทรวงนี้
ทำงานในที่สูง หมายความว่า การทำงานที่พื้นที่ปฏิบัติงานสูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคาร
ทำงานบนที่ลาดชัน หมายความว่า การทำงานบนพื้นระดับที่มีความเอียงของพื้นเป็นมุมจากระนาบปกติในแนวนอน และมีความสูงของพื้นระดับที่เอียงนั้นตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป
นั่งร้าน หมายความว่า ที่ทำงานซึ่งจัดไว้สูงจากพื้นดินหรือจากพื้นของอาคารหรือส่วนของงานก่อสร้าง สำหรับเป็นที่รองรับผู้ทำงานหรือวัสดุเป็นการชั่วคราว
- ข้อ ๒
- นายจ้างต้องจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน และภาวะอันตรายที่อาจได้รับตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงาน เช่น เข็มขัดนิรภัยสายช่วยชีวิต หมวกแข็ง รองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง ถุงมือ
- ข้อ ๓
- กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีนั่งร้านหรือมาตรการอื่นที่เหมาะสมกับสภาพของงานให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
- ข้อ ๔
- กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไปที่ลูกจ้างอาจตกหล่นลงมาได้ นายจ้างต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตกไม่ต่ำกว่าตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือจัดให้มีเข็มขัดนิรภัยและสายช่วยชีวิต หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ตลอดระยะเวลาการทำงาน
กรณีให้ลูกจ้างใช้เข็มขัดนิรภัยและสายช่วยชีวิต นายจ้างจะต้องจัดทำจุดยึดตรึงสายช่วยชีวิตไว้กับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารหรือโครงสร้างอื่นใดที่มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
- ข้อ ๕
- ปล่องหรือช่องเปิดต่างๆ นายจ้างต้องจัดทำฝาปิดที่แข็งแรง ราวกั้นหรือรั้วกันตกที่มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และขอบกันของตกที่มีความสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตร เพื่อป้องกันการพลัดตกหรือสิ่งของตกหล่น และติดป้ายเตือนอันตรายให้เห็นได้ชัดเจน
กรณีใช้แผงทึบแทนราวกั้นหรือรั้วกันตกต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร
- ข้อ ๖
- ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงตามข้อ ๓ และข้อ ๔ นอกอาคารในขณะที่มีพายุ ลมแรง ฝนตก หรือฟ้าคะนอง
- ข้อ ๗
- กรณีที่ลูกจ้างต้องใช้บันไดไต่ชนิดเคลื่อนย้ายได้เพื่อทำงานในที่สูง นายจ้างต้องดูแลการตั้งบันไดให้ระยะระหว่างฐานบันไดถึงผนังที่วางพาดบันไดกับความยาวของช่วงบันได นับจากฐานถึงจุดพาดมีอัตราส่วนหนึ่งต่อสี่ หรือมีมุมบันไดที่ตรงข้ามผนังประมาณเจ็ดสิบห้าองศา
- ข้อ ๘
- กรณีที่ลูกจ้างต้องใช้บันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่ที่มีความสูงเกินสิบเมตรขึ้นไปเพื่อทำงานในที่สูง นายจ้างต้องดูแลบันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่ให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง ไม่ผุกร่อนและต้องจัดทำโกร่งบันไดป้องกันการตกของลูกจ้าง
- ข้อ ๙
- กรณีที่ลูกจ้างต้องใช้ขาหยั่ง หรือม้ายืนในการทำงานในที่สูง นายจ้างต้องดูแลขาหยั่งหรือม้ายืนนั้นให้มีโครงสร้างที่แข็งแรงปลอดภัย ขาแต่ละข้างต้องทำมุมกับพื้นในองศาที่เท่ากัน โดยอยู่ระหว่างหกสิบถึงเจ็ดสิบองศา ถ้าขาหยั่งหรือม้ายืนนั้นเป็นชนิดมีบันไดขึ้นต้องมีพื้นที่สำหรับยืนทำงานในที่สูงอย่างเพียงพอ
- ข้อ ๑๐
- กรณีที่มีการทำงานในที่สูงและที่ลาดชันเกินสิบห้าองศาจากแนวราบ นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของงาน หรือเข็มขัดนิรภัยและสายช่วยชีวิตพร้อมจุดยึด หรืออุปกรณ์อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน สำหรับลูกจ้างใช้ในการทำงานในที่สูงอย่างปลอดภัย
กรณีที่มีการทำงานในที่สูงและที่ลาดชันเกินกว่าสามสิบองศาจากแนวราบ นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของงาน เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัวและสายช่วยชีวิตพร้อมจุดยึด พร้อมอุปกรณ์หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน สำหรับลูกจ้างใช้ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
- ข้อ ๑๑
- กรณีที่มีการลำเลียงสิ่งของที่อยู่สูง นายจ้างต้องจัดทำราง ปล่อง หรือใช้เครื่องมือลำเลียงจากที่สูงเพื่อป้องกันการกระเด็น ตกหล่นของวัสดุสิ่งของ ที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกจ้าง
- ข้อ ๑๒
- ให้นายจ้างปิดประกาศแสดงเขตและป้ายเตือนอันตรายบริเวณพื้นที่ที่มีการเหวี่ยง สาด เททิ้ง หรือโยนวัสดุจากที่สูง และมีผู้ควบคุมดูแลมิให้มีการเข้าออกขณะปฏิบัติงานจนกว่างานจะแล้วเสร็จ
- ข้อ ๑๓
- กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานใกล้สถานที่ที่อาจมีการปลิวหรือตกหล่นของวัสดุ รวมทั้งการให้ทำงานที่อาจมีวัสดุกระเด็นตกหล่นลงมา นายจ้างต้องจัดหมวกแข็งป้องกันศีรษะให้ลูกจ้างใช้ตลอดเวลาการทำงาน
- ข้อ ๑๔
- ในบริเวณที่เก็บหรือกองวัสดุสิ่งของที่อาจมีอันตรายจากการพังทลาย ตกหล่นของวัสดุสิ่งของนั้น ให้นายจ้างจัดเรียงวัสดุให้เกิดความปลอดภัย หรือทำผนังกั้น หรือใช้วิธีการอื่นใดที่สามารถป้องกัน
- ข้อ ๑๕
- กรณีที่ให้ลูกจ้างทำงานในท่อ ช่อง ไซโล หรือสถานที่อื่นใดที่อาจมีการพังทลายให้นายจ้างจัดทำผนังกั้นพร้อมค้ำยัน หรือใช้วิธีการอื่นใดที่สามารถป้องกันอันตรายนั้นได้
- ข้อ ๑๖
- ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานบนหรือในถัง บ่อ กรวย ภาชนะหรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันที่ลูกจ้างอาจตกลงไป เว้นแต่นายจ้างได้จัดให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและสายช่วยชีวิตพร้อมจุดยึด หรือมีสิ่งปิดกั้น หรือรั้ว หรือสิ่งป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันตลอดระยะเวลาการทำงาน
- ข้อ ๑๗
- กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน ณ บริเวณสถานที่หรือลักษณะการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ นายจ้างต้องจัดให้มีสิ่งปิดกั้นหรือจัดทำรั้วที่แข็งแรงและมีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตรล้อมรอบภาชนะนั้น เพื่อป้องกันการตกหล่นของลูกจ้าง
กรณีนายจ้างไม่สามารถดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยที่ได้มาตรฐานตลอดระยะเวลาการทำงาน
- ข้อ ๑๘
- กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานซึ่งลักษณะการทำงานอาจทำให้ลูกจ้างตกลงไปในภาชนะบรรจุของร้อนได้ ให้นายจ้างจัดให้มีสิ่งป้องกันล้อมรอบภาชนะบรรจุของร้อนหรือมีมาตรการความปลอดภัยเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างตกหล่นลงไปในภาชนะบรรจุของร้อนนั้น
|