ร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ....

ร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. .... (ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2561 - 15 เมษายน 2561)
- YYYYYYYYYYYYYYYY_Y.Y.Y._YYYYYYY.docx (102 ดาวน์โหลด)
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กรุณากรอกข้อมูลพื้นฐานเพื่อประโยชน์และจัดทำรายงานสำหรับการรับฟังความคิดเห็น |
หลักการของร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) กำหนดให้พระราชกฤษฎีกา และประกาศรัฐมนตรี ซึ่งกำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที โดยไม่ต้องคัดสำเนาปิดประกาศ ณ ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการกำนัน หรือที่สาธารณสถานในื้องที่ซึ่งเกี่ยวข้องอีก
(2) ยกเลิกมาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 โดยกำหนดให้ไม้หวงห้ามมีเฉพาะในป่าเท่านั้น (ร่างมาตรา 6 วรรคสอง)
(3) กำหนดวิธีการให้ประชาชนสามารถทำไม้หวงห้ามได้ก่อนได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีไม้โค่นล้มทับบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างหรือทรัพย์สินของตนได้ (ร่างมาตรา 19)
(4) ยกเลิกเรื่องการนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่เข้าเขตด่านป่าไม้ แต่เดิมจะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านป่าไม้ทุกด่าน โดยกำหนดให้แจ้งเฉพาะเขตด่านป่าไม้จุดนำเข้าและปลายทางเท่านั้น และยกเลิกเรื่องการนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น (ยกเลิกมาตรา 40 และมาตรา 41)
(5) ยกเลิกเรื่องการควบคุมไม้ในลำน้ำ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีการอนุญาตเก็บไม้ในลำน้ำแล้ว (ยกเลิกมาตรา 43 ถึงมาตรา 46)
(6) กำหนดหมวดการรับรองไม้ (ภาคสมัครใจ) เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมป่าไม้ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (ร่างมาตรา 28 และมาตรา 29)
(7) กำหนดเพิ่มเติมให้ไม้ที่มีหนังสือรับรองของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม้ที่มีหนังสือรับรองของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม้ที่มีหลักฐานแสดงว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม้ที่อธิบดีกรมป่าไม้อนุญาตให้ใช้ไม้เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ผู้ได้รับอนุญาตให้แปรรูปไม้จะมีไม้ไว้ในครอบครองในสถานที่ที่ได้รับอนุญาตของตนได้ (ร่างมาตรา 40 (6) และ(7))
(8) กำหนดเรื่องการคืนของกลางระหว่างคดีเป็นอำนาจของอธิบดี โดยกำหนดให้ในคดีไม่พบตัวผู้กระทำความผิด ให้ของกลางตกเป็นของแผ่นดิน และกรณีที่มีเจ้าของหรือมีสิทธิขอรับคืนของกลางในคดีป่าไม้ได้จากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด (ร่างมาตรา 54 มาตรา 58 และมาตรา 59)
(9) ลดขั้นตอนการต่อใบอนุญาตโรงงานแปรรูป โรงค้าไม้แปรรูป ที่ปัจจุบันกำหนดเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง ให้ต่อใบอนุญาตทุกปี โดยต้องแก้ไขกฎหมายระดับรองเนื่องจากไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 อันเป็นการสร้างภาระแก่ผู้ประกอบการเกินความจำเป็น
(10) เปลี่ยนชื่อหมวด "การแผ้วถางป่า" เป็นชื่อ "หมวดการคุ้มครองป่า" เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เนื่องจากเรื่องการดูแล บริหารจัดการที่ดินของรัฐ
(11) บัญญัติบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นเพื่อเป็นการป้องปรามให้ประชาชนและผู้ประกอบการเกิดความเกรงกลัว
(12) กำหนดให้เพิ่มอัตราค่่าธรรมเนียมให้สูงขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายและค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เนื่องจากพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีบทบัญญัติบางประการ เช่น มาตรา 7 ที่ได้กำหนดเกี่ยวกับไม้หวงห้ามที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มิใช่ป่า ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อการทำไม้ในที่ดินของประชาชน และบทบัญญัติที่บังคับถึงการอนุญาตทำไม้ การแปรรูปไม้ และการควบคุมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำมาหากินของประชาชน ตลอดถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการสัมปทานการทำไม้ ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้มีการอนุญาตให้สัมปทานการทำไม้แล้ว รวมถึงบทบัญญัติที่กล่าวถึงการจัดการของกลาง ค่าธรรมเนียม มาตรการควบคุมผู้ประกอบการ มาตรการควบคุมการดูแลป่า ที่ไม่บังคับใช้เป็นเวลานาน สมควรที่ปรับปรุงแก้ไขให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับสถานการในปัจจุบัน
- ร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ....
ความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมาย
เนื่องจากพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีบทบัญญัติบางประการ เช่น มาตรา 7 ที่ได้กำหนดเกี่ยวกับไม้หวงห้ามที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มิใช่ป่า ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อการทำไม้ในที่ดินของประชาชน และบทบัญญัติที่บังคับถึงการอนุญาตทำไม้ การแปรรูปไม้ และการควบคุมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำมาหากินของประชาชน ตลอดถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการสัมปทานการทำไม้ ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้มีการอนุญาตให้สัมปทานการทำไม้แล้ว รวมถึงบทบัญญัติที่กล่าวถึงการจัดการของกลาง ค่าธรรมเนียม มาตรการควบคุมผู้ประกอบการ มาตรการควบคุมการดูแลป่า ที่ไม่บังคับใช้เป็นเวลานาน สมควรที่ปรับปรุงแก้ไขให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับสถานการในปัจจุบัน
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น เป็นการสมควรที่จะยกเลิกการกำหนดไม้หวงห้ามในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ตามประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจของประชาชน โดยจะควบคุมเฉพาะไม้ในป่าเท่านั้น ไม่ควบคุมไม้ในที่มีหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินข้างต้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนปลูกและตัดไม้ได้โดยสะดวก ไม่กระทบสิทธิและเพิ่มภาระให้แก่ประชาชน และสร้างระบบการรับรองไม้ในที่ดินของเอกชนเพื่อให้รู้แหล่งที่มาของไม้
- ร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ....
หลักการของร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) กำหนดให้พระราชกฤษฎีกา และประกาศรัฐมนตรี ซึ่งกำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที โดยไม่ต้องคัดสำเนาปิดประกาศ ณ ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการกำนัน หรือที่สาธารณสถานในื้องที่ซึ่งเกี่ยวข้องอีก
(2) ยกเลิกมาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 โดยกำหนดให้ไม้หวงห้ามมีเฉพาะในป่าเท่านั้น (ร่างมาตรา 6 วรรคสอง)
(3) กำหนดวิธีการให้ประชาชนสามารถทำไม้หวงห้ามได้ก่อนได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีไม้โค่นล้มทับบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างหรือทรัพย์สินของตนได้ (ร่างมาตรา 19)
(4) ยกเลิกเรื่องการนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่เข้าเขตด่านป่าไม้ แต่เดิมจะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านป่าไม้ทุกด่าน โดยกำหนดให้แจ้งเฉพาะเขตด่านป่าไม้จุดนำเข้าและปลายทางเท่านั้น และยกเลิกเรื่องการนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น (ยกเลิกมาตรา 40 และมาตรา 41)
(5) ยกเลิกเรื่องการควบคุมไม้ในลำน้ำ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีการอนุญาตเก็บไม้ในลำน้ำแล้ว (ยกเลิกมาตรา 43 ถึงมาตรา 46)
(6) กำหนดหมวดการรับรองไม้ (ภาคสมัครใจ) เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมป่าไม้ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (ร่างมาตรา 28 และมาตรา 29)
(7) กำหนดเพิ่มเติมให้ไม้ที่มีหนังสือรับรองของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม้ที่มีหนังสือรับรองของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม้ที่มีหลักฐานแสดงว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม้ที่อธิบดีกรมป่าไม้อนุญาตให้ใช้ไม้เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ผู้ได้รับอนุญาตให้แปรรูปไม้จะมีไม้ไว้ในครอบครองในสถานที่ที่ได้รับอนุญาตของตนได้ (ร่างมาตรา 40 (6) และ(7))
(8) กำหนดเรื่องการคืนของกลางระหว่างคดีเป็นอำนาจของอธิบดี โดยกำหนดให้ในคดีไม่พบตัวผู้กระทำความผิด ให้ของกลางตกเป็นของแผ่นดิน และกรณีที่มีเจ้าของหรือมีสิทธิขอรับคืนของกลางในคดีป่าไม้ได้จากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด (ร่างมาตรา 54 มาตรา 58 และมาตรา 59)
(9) ลดขั้นตอนการต่อใบอนุญาตโรงงานแปรรูป โรงค้าไม้แปรรูป ที่ปัจจุบันกำหนดเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง ให้ต่อใบอนุญาตทุกปี โดยต้องแก้ไขกฎหมายระดับรองเนื่องจากไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 อันเป็นการสร้างภาระแก่ผู้ประกอบการเกินความจำเป็น
(10) เปลี่ยนชื่อหมวด "การแผ้วถางป่า" เป็นชื่อ "หมวดการคุ้มครองป่า" เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เนื่องจากเรื่องการดูแล บริหารจัดการที่ดินของรัฐ
(11) บัญญัติบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นเพื่อเป็นการป้องปรามให้ประชาชนและผู้ประกอบการเกิดความเกรงกลัว
(12) กำหนดให้เพิ่มอัตราค่่าธรรมเนียมให้สูงขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายและค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
|