กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ในประเด็นดังต่อไปนี้
(1) ปรับปรุงการจัดตั้งสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
(2) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
(3) ปรับปรุงที่มาและการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน
(4) ปรับปรุงสิทธิและประโยชน์สำหรับผู้จ้างงานผู้ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถและสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
(5) เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานและผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
(6) กำหนดค่าธรรมเนียมในการดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุญาตจัดตั้งสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน การขออนุญาตเป็นผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
โดยที่พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545มีบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่เหมาะสมกับลักษณะการพัฒนาฝีมือแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานและสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้มีความเหมาะสมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานให้มีความชัดเจน
และให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการกำกับดูแลการดำเนินการของสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานและการทำหน้าที่ของผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
ปรับปรุงที่มาของกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานและการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการจูงใจให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
และกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานแยกจากคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้การบริหารกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นไปอย่างคล่องตัวและสอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน
รวมทั้งปรับปรุงสิทธิและประโยชน์สำหรับผู้จ้างงานผู้ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถและสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบกิจการเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงาน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้